“การตานตุง” พิธีกรรมและความเชื่อของชาวล้านนา
จาก หลักฐาน ตำนาน นิราศ ลิลิต และพงศาวดารต่าง ๆ ได้เขียนถึงอานิสงส์ของการสร้างตุงว่าผู้ที่สร้างตุงถวายเป็นพุทธบูชาจะไม่
ตกนรก ได้เกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ถ้ากลับมาเกิดในโลกมนุษย์ก็จะได้เป็นใหญ่เป็นโต
ถ้าสร้างอุทิศให้ผู้ตาย ผู้ตายก็จะพ้นจากการไปเป็นเปรตหลุดพ้นจากบาปกรรมที่ทำไว้จากอานิสงส์ดัง
กล่าวนี้ทำให้ชาวล้านนานิยมสร้างตุงกันทุกชั้นวรรณะ ซึ่งรูปแบบของตุงจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับฐานะทางสังคมของเจ้าของพิธี
พื้นฐานความเชื่อของสังคม วัสดุและความสามารถของคนในท้องถิ่นในการที่จะนำเอาวัสดุที่มี
มาประดับตุงโดยใช้เทคนิควิธีการต่าง ๆ ใน คัมภีร์ใบลานเรื่อง อานิสงส์ทานตุง ฉบับวัดแม่ตั๋ง
ตำบลแม่พริก อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง ก็ได้กล่าวถึงอานิสงส์การสร้างเสาตุงและเสาหงส์บูชาพระพุทธเจ้าว่าจะได้ผล
บุญพ้นจากอบายภูมิไปเกิดยังสวรรค์ขึ้นดาวดึงส์ หางตุงกวัดแกว่งในยามลมพัด หากพัดแกว่งไปทางทิศตะวันออกผู้สร้างตุงก็จักได้เป็นจักรพรรดิราช
หากพัดไปทิศอาคเนย์จักได้เป็นมหาเศรษฐี พัดในทิศทักษิณจักได้เป็นเทวดาชั้นมหาราชิก
พัดไปทิศหรดีจัก ได้เป็นพระยาประเทศราช
พัดไปทิศปัจจิมจักได้เป็นพระปัจเจกโพธิญาณ หากพัดทิศพายัพจักได้ทรงปิฏกทั้ง 3 พัดไปทิศอุตตระจักได้เป็นท้าวมหาพรหม พัดไปทิศอีสานจักได้เป็นสมเด็จอมรินทราธิราช
หากพัดลงด้านล่างจักได้เป็นใหญ่ในโลกนี้ หากพัดขึ้นบนอากาศจักได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งและได้พบพระศรีอาริยเมตตรัย
สืบสานวัฒนธรรมการใช้ตุง
จาก
คติความเชื่อเหล่านี้ทำให้การพบรูปลักษณ์ของตุง เป็นพุทธศิลป์สำคัญในวัดต่าง ๆ ของล้านนาอย่างหลากหลายแม้ในปัจจุบันชาวล้านนาส่วนใหญ่ยังนิยมสร้างตุงเพื่อ
ใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ ทั้งทางศาสนาประเพณีเกี่ยวกับชีวิต ประเพณีเกี่ยวกับการตาย
งานเทศกาล และเฉลิมฉลองต่าง ๆ ตามคติความเชื่อดั้งเดิม แต่แนวโน้มการใช้ตุงเริ่มเปลี่ยนไปเนื่องจากบรรดาหน่วยทั้งภาครัฐและเอกชน
มักใช้ตุง ประดับตามสถานที่จัดงานต่าง ๆ เพื่อความสวยงามบางงานนำตุงไปใช้อย่างไม่เหมะสมเป็นการทำลายคติความเชื่อง
ดั้งเดิมของชาวล้านนา เช่น การนำตุงไปประดับเวทีประกวดนางงาม เป็นต้น บางงานใช้ตุงปักประดับได้แต่ควรใช้ตุงให้ถูกประเภทและเหมาะสม
หากไม่มีการอนุรักษ์และศึกษารูปแบบคติความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ตุงให้เข้าใจ ถ่องแท้แล้ว
อนาคตการใช้ตุงในพิธีการต่าง ๆ ตามคติความเชื่อเดิมคงจะถูกดัดแปลงให้ผิดเพี้ยนไปในที่สุด
ในปัจจุบันได้มีการผสมผสานวัฒนธรรมประเพณีของตุงแต่ละท้องที่
ทำให้เราสามารถเห็นตุงบางชนิดที่มีลักษณะที่สวยงามและลวดลายการประดิดประดอยให้สวยงามยิ่งขึ้น
ตามแต่ละท้องถิ่นและวัตถุประสงค์ในการสร้าง วัตถุประสงค์ของการตานตุงนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาจะไม่ตกนรก
ได้เกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ถ้ากลับมาเกิดในโลกมนุษย์ก็จะเป็นใหญ่เป็นโต ถ้าสร้างอุทิศให้ผู้ตาย
ผู้ตายก็จะพ้นจากการไปเป็นเปรตหลุดพ้นจากบาปกรรมที่ทำไว้ ด้วยเหตุผลดังกล่าว
ทำให้ชาวล้านนานิยมสร้างตุงกันทุกชั้นวรรณะ ซึ่งรูปแบบของตุงจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับฐานะทางสังคมของเจ้าของพิธี
พื้นฐานความเชื่อ ของคนในสังคม วัสดุและความสามารถของชาวท้องถิ่น ในการที่จะนำ เอาวัสดุที่มีมาประดับตุง
โดยใช้เทคนิควิธีการต่าง ๆ
ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นนั้นนิยมสร้างตุงกันตามความเชื่อและพิธีกรรมที่สืบทอดกันมาแต่ละท้องถิ่น
วัตถุประสงค์เหมือนกันแต่วิธีการสร้างและรายละเอียดในการสร้างนั้น ต่างกันตามวิถีการดำรงชีวิตของคนในท้องถิ่นนั้น
จึงจะเห็นได้ว่า แต่ละท้องถิ่นมีลวดลายของตุงที่มีความงดงามแตกต่างกันและความเชื่อของคนล้าน
นา ส่วนใหญ่มักจะสอดคล้องกับหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา
ชาวล้านนาจะทำการตานตุงในงานประเพณีต่าง ๆ เช่น งานปีใหม่
หรือประเพณีสงกรานต์ของ ประชาชนจะทำเครื่องสักการะ คือ ธูป น้ำส้มป่อย ตุงและ
ช่อตุงหรือธุง อันเป็นเครื่องสักการะ มี 4 ประเภท คือ ตุงเดี่ยว หรือตุงค่าคิง สำหรับบูชาแทนตนเอง ตุงไส้หมู
บูชาพระเจดีย์ พระธาตุทั้งหลาย ตุงไจยถวายบูชาพระพุทธรูป
เพื่อสร้างความสวัสดีมีชัย และช่อหรือธงชัย สำหรับปักเครื่องบูชาต่าง ๆตุงจัดเป็นเครี่องสักการะของล้านนาไทย
มีตุงหลายชนิดที่ใช้ในพิธีกรรม เช่น งานฉลอง หรืองานปอย งานสืบชะตา หรือขบวนแห่ต่าง
ๆ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น