---ตุงล้านนาที่ใช้ในงานมงคล---
ตุงไชย (ตุงไจย) เป็นตุงขนาดใหญ่ รูปสี่เหลี่ยมผืนยาว ถือว่ายิ่งยาวยิ่งมีอานิสงค์มาก ตุง ไชยทำด้วยผ้า เส้นฝ้าย เส้นไหม ซึ่งจะทอเป็นใยโปร่ง มีการตกแต่งประดับประดา บ้างก็ทักทอเป็นลวดลายต่าง ๆ อย่างสวยงาม ถ้าผืนยาวมากมักใช้ไม่ไผ่ลำโตทำเป็นเสาตุงใช้ในงานเฉลิมฉลองต่าง ๆ ชาวบ้านจะช่วยกันทำตุงไชยมาปักเรียงรายตามสองข้างทางที่จะเข้าสู่วัด การที่นำตุงไชยมาปักเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ล่วงลับ นอกจากปักได้สองข้างทางเข้าวัดแล้ว ยังมีการประดับประดาไว้รอบศาสนสถาน ศาสนวัตถุ ที่ทำพิธีฉลองกันด้วย
ตุงใย (ตุงใยแมงมุม)
คือ ตุงที่ทำด้วยเส้นด้ายหรือเส้นไหม ผูกกันคล้ายใยแมงมุม เพื่อใช้ในพิธีสำคัญทางศาสนาเช่นเดียวกับตุงไชย
หรือแขวนไว้ในวิหารหน้าพระประธานถวายเป็นพุทธบูชา การทำตุงชนิดนี้ขึ้นอยู่กับความนิยมของแต่ละหมู่บ้าน
ตุงกระด้าง เป็น ตุงที่ทำด้วยวัสดุคงรูป ผืนตุงทำด้วยไม้แกะสลักบ้าง ปูนปั้นบ้าง หรือบางครั้งก็เป็นโลหะแผ่นฉลุลาย นอกจากนี้ยังมีการประดับตกแต่งด้วยกระจกปั้นปูนเป็นลวดลายต่าง ๆ หรือฉลุเป็นลวดลายประดับบนผืนตุง ตุงกระด้างนี้ ผู้สร้างมักเป็นผู้บรรดาศักดิ์สูงหรือมีฐานะทางเศรษฐกิจดีพอเพราะวัสดุที่ ใช้ตั้งแต่ผืนธงจนการประดับตกแต่งต่างมีราคาสูง และต้องใช้ช่างฝีมือที่ประณีต ซึ่งการสร้างก็เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
ตุงขอนงวงช้าง
หรือตุงขอนก๋ม มีลักษณะเป็นวงแหวน ทำด้วยไม้ไผ่
มัดโยงกันเป็นปล้องหุ้มด้วยกระดาษสีต่าง ๆ มักผูกติดไว้บริเวณหน้าพระประธาน
ตุงตัวเปิ้ง คือตุงประปีเกิด เป็นตุงทำด้วยกระดาษ หรือผ้าทอ, พิมพ์หรือเขียนเป็นรูปสัตว์ประจำปีเกิด นิยมปักบนเจดีย์ทรายในเทศกาลสงกรานต์ หรือแขวนบริเวณหน้าพระประธาน
ตุงดอกบ้อง หรือตุงไส้หมู เป็นตุงที่มีรูปร่างทรงจอมแห ทำจากกระดาษสีต่างผูกติดกับกิ่งไม้ หรือก้านไม้ไผ่เล็ก ๆ ตุงนี้ใช้ในเทศกาลสงกรานต์โดยปักบนกองเจดีย์ทราย หรือประดับเครื่องไทยทานต่าง ๆ
ตุงค่าคิง เป็นตุงที่มีรูปร่างยาวแคบ ความยาวเท่ากับความสูงองผู้ทำพิธี ผืนตุงทำด้วยกระดาษสีขาว อาจตกแต่งลวดลายด้วยกระดาษเงิน กระดาษทอง ตุงค่าคิงที่ใช้ในงานขึ้นบ้านใหม่ที่มีพิธีสืบชาตาพิธีสะเดาะเคราะห์ หรือปักบูชากองเจดีย์ทราย
ตุงพระบด,พระบฏ,พระบฎ เป็นตุงทที่มีลักษณะเป็นผือผ้าใบหรือกระดาษสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีขนาดต่าง ๆ ส่วนมากประมาณ 80 คูณ 100 เซนติเมตร กรอบทั้งสี่ด้านทำด้วยไม้ทำให้ตึง ตุงพระบฎจะเป็นรูปพระพุทธรูปประทับยืน ปางลีลา หรือบางเปิดโลก ลักษณะของการใช้งาน ตุงพระบฎใช้ประดับไว้ด้านหลังของพระประธานในโบสถ์ นอกจากจะใช้ประดับสองข้างพระประธานแล้ว บางแห่งใช้กับพิธีกรรมความเชื่ออีกด้วย เช่น ตุงพระบฏ ที่ใช้ในพิธีเลี้ยงผีปู่แวะย่าแสะที่บ้านแม่เหียะ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น