ตุงที่ใช้ในการประกอบพิธีงานอวมงคล
ตุงสามหาง เป็นตุงที่อาจเรียกชื่อว่า ตุงรูปคนหรือตุงผีตาย ใช้สำหรับนำหน้าศพในสู่สุสานหรือเชิงตะกอน เป็นตุงที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อรวมลักษณะแทนตัวคนเราไว้ด้วยกัน คือส่วนหัวและลำตัวคือส่วนที่กางออกเป็นแขนขาซึ่งบางท่านกล่าวว่าเป็นคติ นิยมเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิด เพื่อเน้นธรรมานุสติถึงความหลุดพ้น ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตุงชนิดนี้บางท้องที่ (ลำปาง) เรียกตุงฮ่างคน หรือตุงอ่องแอ่ง
ตุงเหล็ก, ตุงตอง ทำด้วยแผ่นสังกะสีหรือแผ่นทองเหลืองขนาดเล็กยาวประมาณ 1 คืบ กว้างประมาณ 2 นิ้ว มีคันตุงทำจากเส้นลวดหรือไม้ไผ่ก็ได้ ส่วนมากจะทำอย่างละ 108 อัน มัดติดเป็นพวงโดยทำฐานตั้งไว้ หรือบางแห่งจะวางไว้บนโลงศพ เมื่อเสร็จพิธีแล้ว ชาวบ้านมักจะนำมาไว้ที่วัด ตามฐานชุกชี เมื่อจำเป็นต้องใช้งานอีก ก็ไม่ต้องทำขึ้นมาใหม่
ตุงขอนนางผาน มีลักษณะเป็นตุงขนาดเล็กประดับอยู่ที่ปลายทั้งสองข้างของก้นไม้เล็ก
ๆ ที่ติดขวางบนตุงผืนใหญที่เป็นระยะ ๆ บางครั้งทำเป็นรูปทรงคล้ายพู่ห้อย ตุงนี้ทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตายที่ฐานะยากจนหรือไร้ญาติ
3. ตุงที่ใช้ประกอบการเทศน์ จะใช้ประกอบในพิธีงานเทศกาล
ตั้งธรรมหลวง ในเดือนยี่เพ็ง (วันเพ็ญเดือนสิบสอง)
หรืองานตั้งธรรมหลวงเดือนสี่เพ็ง (วันเพ็ญเดือนยี่)
โดยการปักตุงดังกล่าวนี้ในกัณฑ์เทศน์ หรือประดับอาคารที่มีเทศน์ เช่น โบสถ์ วิหาร
หรือศาลาบาตร เป็นต้น ทั้งนี้ตามคติความเชื่อองคนในล้านนาทำตุงใช้ประกอบการเทศน์ขึ้น
ก็เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และเชื่อว่าจะได้อานิสงส์มากตุงที่ใช้ประกอบการเทศน์สอดคล้องกับการเทศน์
ธรรมเรื่องต่าง ๆ ในทศชาติ ดังต่อไปนี้
1. ตุงดิน ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์แรกคือ เตมิยชาดก
2. ตุงทราย ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ 2 คือ ชนกกุมาร
3. ตุงไม้ ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ 3 คือ สุวรรณสาม
4. ตุงจีน ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ 4 คือ เนมิราช
5. ตุงเหียก ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ 5 คือ มโหสถ
6. ตุงเหล็ก ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ 6 คือ ภูริทัต
7. ตุงตอง ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ 7 คือ จันทกุมารชาดก
8. ตุงข้าวเปลือก ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ 8 คือ นารถชาดก
9. ตุงข้าวสาร ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ 9 คือ วิธูรบัณฑิต
10. ตุงเงิน ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ 10 คือ เวสสันดร
11. ตุงคำ ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์เรื่อง สิตธาตถ์หรือสิตาตถ์ออกบวช
4.
ช่อ คือตุงชนิดหนึ่งแต่มีขนาดเล็ก
เรียกชื่อตามลักษณะการใช้งานหรือรูปทรง
1. ตุงดิน ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์แรกคือ เตมิยชาดก
2. ตุงทราย ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ 2 คือ ชนกกุมาร
3. ตุงไม้ ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ 3 คือ สุวรรณสาม
4. ตุงจีน ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ 4 คือ เนมิราช
5. ตุงเหียก ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ 5 คือ มโหสถ
6. ตุงเหล็ก ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ 6 คือ ภูริทัต
7. ตุงตอง ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ 7 คือ จันทกุมารชาดก
8. ตุงข้าวเปลือก ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ 8 คือ นารถชาดก
9. ตุงข้าวสาร ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ 9 คือ วิธูรบัณฑิต
10. ตุงเงิน ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ 10 คือ เวสสันดร
11. ตุงคำ ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์เรื่อง สิตธาตถ์หรือสิตาตถ์ออกบวช
ช่อน้อย เป็นช่อขนาดเล็ก ใช้ปักเจดีย์ในเทศกาลสงกรานต์, ในการสะเดาะเคราะห์, การสืบชาตา, การขึ้นท้าวทั้งสี่, การถาวายเป็นพุทธบูชา
ช่อช้าง ทำด้วยผ้าแพรสีต่าง ๆ ปักดิ้นอย่างสวยงามใช้ถือนำหน้าครัวทาง หรือใช้ปักสลับกับตุงไชยในงานปอยหลวง
อานิสงส์ของการสร้างตุง, ทานตุง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น